บทบาทของผู้ออกแบบ
เรามักจะกล่าวถึงครูที่สอนดีว่า
เป็นครูที่มีพรสวรรค์ซึ่งอาจจะไม่ถูกต้องนัก
เพราะในความเป็นจริงการสอนมิได้เป็นไปโดยธรรมชาติหรือความบังเอิญ
การสอนที่ดีจะต้องเป็นการสอนที่ได้รับการออกแบบการสอนเพื่อการเรียนรู้อย่างแท้จริงซึ่งครูมักออกแบบตามความเชื่อของตนที่เห็นว่าเป็นวิธีการที่เหมาะสม
หรือ
ออกแบบตามแนวคิดของนักการศึกษาที่ได้ให้หลักการและวิธีการดำเนินการไว้เป็นที่รู้จักและนิยมแพร่หลายมากมายทั้งที่เป็นระบบการสอน
รูปแบบการสอน หรือเป็นกระบวนการขั้นตอนการสอนที่สามารถนำมาใช้ออกแบบการสอนได้เลย
ส่วนใหญ่เป็นแนวคิดของชาวต่างชาติ เช่น รูปแบบการสอนของบราวน์ (Brown) เกอลาชและอีลี (Gerlach
and Ely)
เจอโรลด์ เคมป์(Jerrold Kemp) เป็นต้น ที่เป็นของไทยมีบ้าง เช่น
การสอนแบบเบญจขันธ์ ของ รศ.ดร.เปรื่อง กุมุท การสอนแบบศูนย์
การเรียน ของ ศ.ดร.ชัยยงค์ พรหมวงศ์
ระบบการสอนต่างๆ
ล้วนมีพื้นฐานมาจากการนำวิธีระบบ (Systems Approach) มาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน
ซึ่งสรุปเป็น
องค์ประกอบสำคัญที่ต้องพิจารณา 4
องค์ประกอบ ดังนี้
1. วัตถุประสงค์ (Objective) ต้องกำหนดให้ชัดเจนว่าต้องการให้ผู้เรียน
บรรลุวัตถุประสงค์การเรียนรู้ในด้านใด ระดับใด พุทธิพิสัย (Cognitive Domain) จิตพิสัย (Affective Domain) หรือทักษะพิสัย
(Psychomotor Domain) และเพื่อให้สามารถวัดได้อย่างชัดเจนต้องตั้งวัตถุประสงค์ให้เป็น วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม (Behavioral Objective)
2. ผู้เรียน (Learner) ต้องวิเคราะห์ว่าผู้เรียนมีคุณสมบัติอย่างไร? มีพื้นฐานอย่างไร? มีรูปแบบการเรียนอย่างไร? เพื่อจะได้ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับผู้เรียน
3. วิธีสอนและกิจกรรมการการสอน (Teaching and Learning Activities) ต้องพิจารณากำหนดวิธีสอนและจัดกิจกรรมให้กับผู้เรียนให้กระบวนการเรียนทำให้ผู้เรียน
บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
4. การวัดและประเมิน (Evaluation) ต้องมีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนว่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์หรือไม่? เครื่องมือวัดและประเมินต้องมีประสิทธิภาพเพื่อวัดได้อย่างถูกต้อง
และเที่ยงตรง และต้องนำผลการประเมินย้อนกลับ (Feedback) ไปแก้ไขปรับปรุงให้ถูกต้องเหมาะสมด้วย
เพราะการประเมินจะเกิดประโยชน์เมื่อนำผลไปปรับปรุงแก้ไข
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น