การปฏิรูปการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ
การปฏิรูปการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ
แนวทางในการจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
พุทธศักราช 2542ในมาตรา 42 ถือ ว่าผู้เรียนสำคัญที่สุด
กระบวนการเรียนรู้กระบวนการเรียนรู้เป็นการส่งเสริมผู้เรียนให้เรียนรู้ด้วย สมอง
ด้วยกาย และด้วยใจ
สามารถสร้างองค์ความรู้ผ่านกระบวนการคิดด้วยตนเองมีส่วนร่วมในการเรียนการส อน
เน้นการปฏิบัติจริง สามารถทำงานเป็นทีมได้(สมศักดิ์, 2543)
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2) พ.ศ.2545หมวด 4 แนวการจัดการศึกษา มาตรา
22 กำหนดไว้ว่า “การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความ
สามารถในการจัดการเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนสำคัญที่สุด
กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้
ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ” (กระทรวงศึกษาธิการ,2545) และตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544
กำหนดหลักการ ข้อ 3 ซึ่งกำหนดไว้ว่า“ส่ง
เสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาและเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตโดย
ถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด สามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ”
(กระทรวงศึกษาธิการ, 2545)
จากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 นี้
เองทำให้เกิดการปฏิรูปการศึกษาขึ้น
และการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญก็เป็นประเด็นสำคัญ
ประเด็นหนึ่งในการปฏิรูปการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542
(วิภาภรณ์, 2543)
การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
คือ วิธีการสำคัญที่สามารถสร้างและพัฒนาผู้เรียน ให้เกิดคุณลักษณะต่างๆ
ที่ต้องการในยุคโลกาภิวัตน์เนื่องจากเป็นการจัดการเรียนการสอนที่ให้ความ
สำคัญกับผู้เรียน ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักเรียนรู้ด้วยตนเอง เรียนในเรื่องที่สอดคล้องกับความสามารถและความต้องการของตนเองและได้พัฒนา
ศักยภาพของตนเองอย่างเต็มที่ ซึ่งแนวคิดการ
จัดการศึกษานี้เป็นแนวคิดที่มีรากฐานจากปรัชญาการศึกษาและทฤษฎีการเรียนรู้ ต่าง ๆ
ที่ได้พัฒนามาอย่าง ต่อเนื่องยาวนาน และเป็นแนวทางที่ได้รับการพิสูจน์ว่าสามารถพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะตาม
ต้องการอย่างได้ผล (วัฒนาพร ระงับทุกข์. 2542)
หลักการพื้นฐานของแนวคิด
"ผู้เรียนเป็นสำคัญ" (ไพฑูรย์, 2549)
การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญนี้
ผู้เรียนจะได้รับการส่งเสริมให้ผู้เรียนมี
ความรับผิดชอบและมีส่วนร่วมต่อการเรียนรู้ของตนเอง
ซึ่งแนวคิดแบบผู้เรียนเป็นสำคัญจะยึดการศึกษาแบบก้าวหน้าของผู้เรียนเป็นสำคัญ
ผู้เรียนแต่ละคนมีคุณค่าสมควรได้รับการเชื่อถือไว้วางใจแนวทางนี้จึงเป็นแนว
ทางที่จะ ผลักดันผู้เรียนไปสู่การบรรลุศักยภาพของตน
โดยส่งเสริมความคิดของผู้เรียนและอำนวยความสะดวกให้เขาได้พัฒนาศักยภาพของตน
เองอย่างเต็มที่การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางเป็นการ
จัดกระบวนการเรียนรู้แบบใหม่ที่มีลักษณะแตกต่างจากการจัดกระบวนการเรียนรู้
แบบดั้งเดิมทั่วไป คือ
1.
ผู้เรียนมีบทบาทรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของตน ผู้เรียนเป็นผู้เรียนรู้บทบาทของครูคือผู้สนับสนุน
(supporter) และเป็นแหล่งความรู้(resource person) ของ ผู้เรียน
ผู้เรียนจะรับผิดชอบตั้งแต่เลือกและวางแผนสิ่งที่ตนจะเรียน หรือเข้าไปมีส่วนร่วมใน
การเลือกและจะเริ่มต้นการเรียนรู้ด้วยตนเองด้วยการศึกษาค้นคว้า
รับผิดชอบการเรียนตลอดจนประเมินผลการเรียนรู้ด้วยตนเอง
2.
เนื้อหาวิชามีความสำคัญและมีความหมายต่อการเรียนรู้
ในการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ปัจจัยสำคัญที่จะต้องนำมาพิจารณาประกอบด้วย ได้แก่
เนื้อหาวิชาประสบการณ์เดิม และความต้องการของผู้เรียน
การเรียนรู้ที่สำคัญและมีความหมายจึงขึ้นอยู่กับสิ่งที่สอน (เนื้อหา)
และวิธีที่ใช้สอน(เทคนิคการสอน)
3.
การเรียนรู้จะประสบผลสำเร็จหากผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรม การเรียนการสอน
ผู้เรียนจะได้รับความสนุกสนานจากการเรียน
หากได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ได้ทำงานร่วมกันกับเพื่อนๆได้ค้นพบข้อ
คำถามและคำตอบใหม่ๆ สิ่งใหม่ๆ
ประเด็นที่ท้าทายและความสามารถในเรื่องใหม่ๆที่เกิดขึ้น
รวมทั้งการบรรลุผลสำเร็จของงานที่พวกเขาริเริ่มด้วยตนเอง
4.
สัมพันธภาพประกอบดีระหว่างผู้เรียน
การมีสัมพันธภาพประกอบดีในกลุ่มจะช่วยส่งเสริมความเจริญงอกงาม
การพัฒนาความเป็นผู้ใหญ่ การปรับปรุงการทำงาน และการจัดการกับชีวิตของแต่ละบุคคล
สัมพันธภาพประกอบเท่าเทียมกันระหว่างสมาชิกในกลุ่ม
จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยส่งเสิรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันของ ผู้เรียน
5.
ครูคือผู้อำนวยความสะดวกและเป็นแหล่งความรู้ในการจัดการ เรียนการสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ครูจะต้องมีความสามารถที่จะค้นพบความต้องการที่แท้จริงของผู้เรียน
เป็นแหล่งความรู้ที่ทรงคุณค่าของผู้เรียนและสามารถค้นคว้าหาสื่อวัสดุ
อุปกรณ์ที่เหมาะสมกับผู้เรียน สิ่งที่สำคัญที่สุด
คือความเต็มใจของครูที่จะช่วยเหลือโดยไม่มีเงื่อนไข ครูจะให้ทุกอย่างแก่ผู้เรียนไม่ว่าจะเป็นความเชี่ยวชาญ
ความรู้ เจตคติ และการฝึกฝน โดยผู้เรียนมีอิสระที่จะรับหรือไม่รับการให้นั้นก็ได้
6.
ผู้เรียนมีโอกาสเห็นตนเองในแง่มุมที่แตกต่างจากเดิม
การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
มุ่งให้ผู้เรียนมองเห็นตนเองในแง่มุมที่แตกต่างออกไป
ผู้เรียนจะมีความมั่นใจในตนเองและควบคุมตนเองได้มากขึ้น
สามารถเป็นในสิ่งที่อยากเป็น มีวุฒิภาวะสูงมากขึ้น
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนให้สอดคล้องกับสิ่งแวดล้อม และมีส่วนร่วมกับเหตุการณ์ต่างๆ
มากขึ้น
7.
การศึกษาคือการพัฒนาประสบการณ์การเรียนรู้ของผู้เรียนหลายๆ ด้านพร้อมกันไป
การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเป็นจุดเริ่มของการพัฒนาผู้เรียนหลายๆ
ด้าน เช่น คุณลักษณะด้าน
ความรู้ความคิด
ด้านการปฏิบัติและด้านอารมณ์ความรู้สึกจะได้รับการพัฒนาไปพร้อมๆ
กันเมื่อรู้ว่าการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญมีดีและเป็นประโยชน์ต่อการจัดการเรียนรู้
ดังนั้นพวกเราครูมืออาชีพก็ควรศึกษาและปฏิบัติให้ถูกต้อง
ผลที่ได้คือ ผลิตผลที่ดีนักเรียนมีความรู้ ดี เก่งและมีสุข
ตามเจตนารมย์ของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 (สิริพร, 2549)
ปัญหาหลักของกระบวนการเรียนการสอนในปัจจุบัน
คือ การที่ครูใช้วิธีการสอนแบบ
“ปูพรม”
โดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างของผู้เรียน ที่มีความสามารถในการรับรู้ที่แตกต่างกัน
(สุมณฑา, 2544 : 27) การเรียนการสอนไม่ได้เอื้อต่อการพัฒนาคุณลักษณะ “มองกว้าง
คิดไกล ใฝ่ดี”
แต่เน้นการท่องจำเพื่อสอบมากกว่าที่จะสอนให้
คิดเป็น วิเคราะห์ได้สามารถหาความรู้ได้ด้วยตนเองทำให้ผู้เรียนมีลักษณะผู้เรียนรู้
ไม่เป็น ปัญหาเหล่านี้นับว่าเป็นความล้มเหลวของการจัดการศึกษาที่ต้องแก้ไขโดยเร่ง
ด่วน (จิราภรณ์, 2541)
ความหมายการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
หมายถึง การจัดกิจกรรมโดยวิธีต่างๆอย่างหลากหลายที่มุ่งให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
อย่างแท้จริงเกิดการพัฒนาตนและสั่งสมคุณลักษณะที่จำเป็นสำหรับการเป็นสมาชิก
ที่ดีของสังคมของประเทศชาติต่อไป
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่มุ่งพัฒนาผู้เรียน
จึงต้องใช้เทคนิควิธีสอนวิธีการเรียนรู้
รูปแบบการสอนหรือกระบวนการเรียนการสอนในหลากหลายวิธีซึ่งจำแนกได้ดังนี้(คณะอนุกรรมการปฏิรูปการเรียนรู้, 2543)
1.
การจัดการเรียนการสอนทางอ้อม ได้แก่ การเรียนรู้แบบสืบค้น แบบค้นพบ แบบแก้ปัญหาแบบ
สร้างแผนผังความคิดแบบใช้กรณีศึกษา แบบตั้งคำถามแบบใช้การตัดสินใจ
2.
เทคนิคการศึกษาเป็นรายบุคคล ได้แก่ วิธีการเรียนแบบศูนย์การเรียน
แบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง แบบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
3.
เทคนิคการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ ประกอบการเรียน เช่น
การใช้สิ่งพิมพ์ ตำราเรียน และแบบฝึกหัดการใช้แหล่งทรัพยากรในชุมชน
ศูนย์การเรียนชุดการสอน คอมพิวเตอร์
ช่วยสอน บทเรียนสำเร็จรูป
4.
เทคนิคการจัดการเรียนการสอนแบบเน้นปฏิสัมพันธ์ประกอบด้วย การโต้วาทีกลุ่ม Buzz การอภิปราย การระดมพลังสมอง กลุ่มแก้ปัญหา กลุ่มติว การประชุมต่างๆ
การแสดงบทบาทสมมติกลุ่มสืบค้นคู่คิดการฝึกปฏิบัติ เป็นต้น
5.
เทคนิคการจัดการเรียนการสอนแบบเน้นประสบการณ์เช่น
การจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเกม กรณีตัวอย่างสถานการณ์จำลองละคร
กรณีตัวอย่างสถานการณ์จำลอง ละคร บทบาท สมมติ
6.
เทคนิคการเรียนแบบร่วมมือ ได้แก่
ปริศนาความคิดร่วมมือแข่งขันหรือกลุ่มสืบค้นกลุ่มเรียนรู้ ร่วมกัน ร่วมกันคิด
กลุ่มร่วมมือ
7.
เทคนิคการเรียนการสอนแบบบูรณาการ ได้แก่ การเรียนการสอนแบบใช้เว้นเล่าเรื่อง(Story line) และการเรียนการสอนแบบแก้ปัญหา (Problem-Solving)
เทคนิควิธีการเหล่านี้ล้วนเป็นวิธีที่ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง
ได้คิดค้นคว้าศึกษาทดลอง ซึ่งทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง
ผู้สอนจึงมีบทบาทเป็นผู้อำนวยความสะดวกในหลายๆ ลักษณะ ดังนี้(ชาติแจ่มนุช และคณะ, มทป)
1.
เป็นผู้จัดการ (Manager) เป็น ผู้กำหนดบทบาทให้นักเรียนทุกคนได้มีส่วนเข้าร่วมทำกิจกรรมแบ่งกลุ่ม
หรือจับคู่ เป็นผู้มอบหมายงานหน้าที่ความรับผิดชอบแก่ นักเรียนทุกคน
จัดการให้ทุกคนได้ทำงานที่เหมาะสมกับความสามารถและความสนใจของตน
2.
เป็นผู้ร่วมทำกิจกรรม (An active participant) เข้าร่วมทำกิจกรรมในกลุ่มจริงๆ
พร้อมทั้งให้ความคิดและความเห็นหรือเชื่อมโยงประสบการณ์ส่วนตัวของนักเรียนขณะทำกิจกรรม
3.
เป็นผู้ช่วยเหลือและแหล่งวิทยาการ (Helper and
resource) คอยให้คำตอบเมื่อนักเรียนต้องการความช่วยเหลือทางวิชาการ ตัวอย่าง
เช่น คำศัพท์หรือไวยากรณ์การให้ข้อมูลหรือความรู้ในขณะที่นักเรียนต้องการ
ซึ่งจะช่วยทำให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
4.
เป็นผู้สนับสนุนและเสริมแรง (Supporter and
encourager) ช่วยสนับสนุนด้านสื่ออุปกรณ์หรือให้คำแนะนำที่ช่วยกระตุ้นให้นักเรียนสนใจเข้าร่วมกิจกรรมหรือฝึกปฏิบัติด้วยตนเอง
5.
เป็นผู้ติดตามตรวจสอบ (Monitor) คอย
ตรวจสอบงานที่นักเรียนผลิตขึ้นมาก่นที่จะส่งต่อไปให้นักเรียนผลิตขึ้นมาก่อน
ที่จะส่งต่อไปให้นักเรียนคนอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านความถูกต้องของคำศัพท์
ไวยากรณ์ การแก้คำผิด อาจจะทำได้ทั้งก่อนทำกิจกรรม หรือบางกิจกรรมอาจจะแก้ในภายหลังได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น