1. รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นโดยนักการศึกษาไทย
ผู้เขียนจะนำเสนอ 4 รูปแบบ ดังนี้
1.1 รูปแบบการเรียนการสอนทักษะกระบวนการเผชิญสถานการณ์พัฒนาโดย สุมน อมรวิวัฒน์
1.2 รูปแบบการเรียนการสอนโดยศรัทธาและโยนิโสมนสิกา พัฒนาโดย สุมน อมรวิวัฒน์
1.3 รูปแบบการเรียนการสอนกระบวนการคิดเป็นเพื่อการดำรงชีวิตในสังคมไทย พัฒนาโดย สุมน อมรวิวัฒน์
1.4 รูปแบบการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง : โมเดลซิปปา (CIPPA) พัฒนาโดย ทิศนา แขมมณี
1.1 รูปแบบการเรียนการสอนทักษะกระบวนการเผชิญสถานการณ์พัฒนาโดย สุมน อมรวิวัฒน์
ก. ทฤษฎี/หลักการ/แนวคิดของรูปแบบ
สุมน อมรวิวัฒน์ ( 2533 : 168 - 170) ได้พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนนี้ขึ้นมาจากแนวคิดที่ว่า การศึกษาที่แท้ควรสัมพันธ์สอดคล้องกับการดำเนินชีวิต ซึ่งต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ซึ่งมีทั้งทุกข์ สุข ความสมหวังและความผิดหวังต่าง ๆ การศึกษาที่แท้ควรช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ที่จะเผชิญกับสถานการณ์ต่าง ๆ เหล่านั้น และสามารถเอาชนะปัญหาเหล่านั้นได้โดย
1. การเผชิญ ได้แก่การเรียนรู้ที่จะเข้าใจภาวะที่ต้องเผชิญ
2. การผจญ คือการเรียนรู้วิธีต่อสู้กับปัญหาอย่างถูกต้องตามทำนองคลองธรรมและมีหลักการ
3. การผสมผสาน ได้แก่การเรียนรู้ที่จะผสมผสานวิธีการต่าง ๆ เพื่อนำไปใช้แก้ปัญหาได้สำเร็จ
4. การเผด็จ คือการลงมือแก้ปัญหาให้หมดไป โดยไม่ก่อให้เกิดปัญหาสืบเนื่องต่อไปอีก
ข. วัตถุประสงค์ของรูปแบบ
รูปแบบนี้มุ่งพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาและทักษะกระบวนการต่าง ๆ จำนวนมาก อาทิ กระบวนการคิด (โยนิโสมนสิการ) กระบวนการเผชิญสถานการณ์ กระบวนการแสวงหาความรู้ กระบวรการประเมินค่าและตัดสินใจ กระบวนการสื่อสาร ฯลฯ รวมทั้งพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ในการแก้ปัญหาและการดำรงชีวิต
ค. กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ
กระบวนการดำเนินงานมีดังนี้ (สุมน อมรวิวัฒน์, 2533 : 170 - 171 ; 2542 : 55 - 143)
1. ขั้นนำ การสร้างศรัทธา
1.1 ผู้สอนจัดสิ่งแวดล้อมและบรรยากาศในชั้เรียนให้เหมาะสมกับเนื้อหาของบทเรียน และเร้าใจให้ผู้เรียนเห็นความสำคัญของบทเรียน
1.1 ผู้สอนจัดสิ่งแวดล้อมและบรรยากาศในชั้เรียนให้เหมาะสมกับเนื้อหาของบทเรียน และเร้าใจให้ผู้เรียนเห็นความสำคัญของบทเรียน
1.2 ผู้สอนสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับผู้เรียน และแสดงความรัก ความเมตตา ความจริงใจต่อผู้เรียน
2. ขั้นสอน
2.1 ผู้สอนหรือผู้เรียนนำเสนอสถานการณ์ปัญหา หรือกรณีตัวอย่าง มาฝึกทักษะการคิดและปฏิบัติในการเผชิญสถานการณ์
2.2 ผู้เรียนฝึกทักษะการแสวงหาและรวบรวมข้อมูล ข้อเท็จจริง ความรู้ และหลักการต่าง ๆ โดยฝึกหัดการตรวจสอบข้อมูลข่าวสารและแหล่งอ้างอิงหลาย ๆ แหล่ง และตรวจสอบลักษณะของข้อมูลข่าวสารว่าเป็นข้อมูลข่าวสารง่ายหรือยาก ธรรมดาหรือซับซ้อน แคบหรือกว้าง คุมเครือหรือชัดเจน มีความจริงหรือความเท็จมากกว่า มีองค์ประกอบเดียวหรือหลายองค์ประกอบ มีระบบหรือยุ่งเหยิงสับสน มีลักษณะเป็นนามธรรมหรือรูปธรรม มีแหล่งอ้างอิงหรือเลื่อนลอย มีเจตนาดีหรือร้าย และเป็นสิ่งที่ควรรู้หรือไม่รู้
2.3 ผู้เรียนฝึกสรุปประเด็นสำคัญฝึกการประเมินค่าเพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาว่าทางใดดีที่สุดโดยใช้วิธีคิดหลาย ๆ วิธี (โยนิโสมนสิการ) ได้แก่ การคิดสืบสาวเหตุปัจจัยการคิดแบบแยกแยะ ส่วนประกอบการคิดแบบสามัญลักษณ์ คือคิดแบบแก้ปัญหา คิดแบบอรรถธรรมสัมพันธ์ คือ คิดให้เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างหลักการ และความมุ่งหมาย คิดแบบคุณโทษทางออก คิดแบบคุณค่าแท้-คุณค่าเทียม คิดแบบใช้อุบายปลุกเร้าคุณธรรม และคิดแบบเป็นอยู่ในขณะปัจจุบัน
2.4 ผู้เรียนฝึกทักษะการเลือกและตัดสินใจ โดยการฝึกการประเมินค่าตามเกณฑ์ที่ถูกต้องดีงาม เหมาะสม ฝึกการวิเคราะห์ผลดี ผลเสีย ที่จะเกิดขึ้นจากทางเลือกต่าง ๆ และฝึกการใช้หลักการประสบการณ์และการทำนายมาใช้ในการเลือกหาทางเลือกที่ดีที่สุด
2.5 ผู้เรียนลงมือปฏิบัติตามทางเลือกที่ได้ให้ไว้ผู้สอนให้คำปรึกษาและแนะนำฉันกัลยาณมิตร โดยปฏิบัติให้เหมาะสมกับหลักสัปปุริสธรรม 7
3. ขั้นสรุป
3.1 ผู้เรียนแสดงออกด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่นการพูด เขียน แสดง หรือกระทำในรูปแบบต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับความสามารถและวัย
3.2 ผู้เรียนและผู้สอนสรุปบทเรียน
3.3 ผู้สอนวัดและประเมินผลการเรียนการสอน
ง. ผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนตามรูปแบบ
ผู้เรียนจะได้พัฒนาความสามารถในการเผชิญปัญหาและสามารถคิดและตัดสินใจได้อย่างเหมาะสม
1.2 รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ศรัทธาและโยนิโสมนสิการโดยสุมน อมรวิวัฒน์
ก. ทฤษฎี/หลักการ/แนวคิดของรูปแบบ
ในปีพ.ศ. 2526 สุมน อมรวิวัฒน์ นักการศึกษาไทยผู้มีชื่อเสียง และมีผลงานทางการศึกษาจำนวนมาก ได้นำแนวคิดจากหนังสือพุทธธรรมของพระราชวรมุณี (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) เกี่ยวกับการสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการ มาสร้างเป็นหลักการและขั้นตอนการสอนตามแนวพุทธวิธีขึ้น รูปแบบการเรียนการสอนนี้พัฒนาขึ้นจากหลักการที่ว่า "ครู" เป็นบุคคลสำคัญที่สามารถจัดสภาพแวดล้อมแรงจูงใจและวิธีการสอนให้ศิษย์เกิดศรัทธาที่จะเรียนรู้ การฝึกฝนวิธีการคิดโดยแยบคาย และนำไปสู่การปฏิบัติจนประจักษ์จริง โดยครูทำหน้าที่เป็นกัลยาณมิตรช่วยให้ศิษย์มีโอกาสคิดและแสดงออกอย่างถูกวิธีจะสามารถช่วยพัฒนาให้ศิษย์เกิดปัญญาและแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม (สุมน อมรวิวัฒน์, 2533 : 161)
ข. วัตถุประสงค์ของรูปแบบ
รูปแบบนี้มุ่งพัฒนาความสามารถในการคิด (โยนิโสมนสิการ) การตัดสินใจและการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่เรียน
ค. กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ
1. ขั้นนำการสร้างเจตคติที่ดีต่อครูวิธีการเรียนในบทเรียน
1.1 จัดบรรยากาศในชั้นเรียนให้เหมาะสม ได้แก่ เหมาะสมในระดับของชั้นวัย ของผู้เรียนวิธีการเรียนการสอนและเนื้อหาของบทเรียน
1.2 สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างครูกับศิษย์ ครูเป็นกัลยาณมิตร หมายถึงครูทำตนให้เป็นที่เคารพรักของศิษย์ โดยมีบุคลิกภาพที่ดี สะอาด แจ่มใส และสำรวมมีสุขภาพจิตดี มีความมั่นใจในตนเอง
1.3 การเสนอสิ่งเร้าและแรงจูงใจ
ก. ใช้สื่อการเรียนการสอนหรืออุปกรณ์และวิธีการต่างๆเพื่อเร้าความสนใจเช่นการจัดป้ายนิเทศ นิทรรศการ เสนอเอกสารภาพ กรณีปัญหา กรณีตัวอย่างสถานการณ์จำลองเป็นต้น
ข. จัดกิจกรรมขั้นนำที่สนุก น่าสนใจ
ค. ศิษย์ ได้ตรวจสอบความรู้ความสามารถของตนและได้รับทราบผลทันที
2. ขั้นสอน
2.1 ครูเสนอปัญหาที่เป็นสาระสำคัญของบทเรียน และเสนอหัวข้อเรื่องประเด็นสำคัญของบทเรียนด้วยวิธีการต่าง ๆ
2.2 ครูแนะนำแหล่งวิทยาการและแหล่งเรียนรู้
2.3 ครูฝึกการรวบรวมข้อมูลข้อเท็จจริง ความรู้และหลักการโดยใช้ทักษะที่เป็นเครื่องมือของการเรียนรู้เช่นทักษะทางวิทยาศาสตร์และทักษะทางสังคม
2.4 ครูจัดกิจกรรมที่กระตุ้นให้ผู้เรียนคิดลงมือค้นคว้าคิดวิเคราะห์และสรุปความคิด
2.5 ครูฝึกการสรุปประเด็นของข้อมูลความรู้ และเรียงเทียบประเมินค่า โดยวิธีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทดลอง ทดสอบ จัดเป็นทางเลือกและทางออกของการแก้ปัญหา
2.6 ศิษย์ดำเนินการเลือกและตัดสินใจ
2.7 ศิษย์ทำกิจกรรมฝึกปฏิบัติเพื่อพิสูจน์ผลการเลือกและการตัดสินใจ
3. ขั้นสรุป
3.1 ครูและศิษย์รวบรวมข้อมูลจากการสังเกตการณ์ปฏิบัติทุกขั้นตอน
3.2 ครูและศิษย์ อภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับข้อมูลที่ได้
3.3 ครูและศิษย์สรุปผลการปฏิบัติ
3.4 ครูและศิษย์สรุปบทเรียน
3.5 ครูวัดและประเมินผลการเรียนการสอน
ง. ผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนตามรูปแบบ
ผู้เรียนจะได้พัฒนาทักษะในการคิด การตัดสินใจและการแก้ปัญหาอย่างเหมาะสม
1.3 รูปแบบการเรียนการสอนการคิดเป็นเพื่อการดำรงชีวิตในสังคมไทยโดยหน่วยศึกษานิเทศก์กรมสามัญศึกษา
ก. ทฤษฎี/หลักการ/แนวคิดของรูปแบบ
หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมสามัญศึกษา (2537) ได้พัฒนารายวิชา "การคิดเป็นเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคมไทย" ขึ้น เพื่อพัฒนานักเรียนระดับมัธยมศึกษา ให้สามารถคิดเป็นรู้จักและเข้าใจตนเองรายวิชาประกอบด้วยเนื้อหา 3 เรื่องคือ
1. การพัฒนาแนวคิด (สติปัญญา)
2. การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม (สัจธรรม)
3. การพัฒนาอารมณ์ ความรู้สึก
กิจกรรมที่ใช้เป็นกิจกรรมปฏิบัติการ 4 กิจกรรมได้แก่
1. กิจกรรมปฏิบัติการ "พัฒนากระบวนการคิด"
2. กิจกรรมปฏิบัติการ "พัฒนารากฐานความคิด"
3. กิจกรรมปฏิบัติการ "ปฏิบัติการในชีวิตจริง"
4. กิจกรรมปฏิบัติการ "ประเมินผลการพัฒนาประสิทธิภาพของชีวิตและงาน"
ในส่วนกิจกรรมปฏิบัติการพัฒนากระบวนการคิด หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมสามัญศึกษา ได้พัฒนาแบบแผนในการสอนซึ่งประกอบด้วยขั้นการสอน 5 ขั้น โดยอาศัยแนวคิดเกี่ยวกับการคิดเป็น ของโกวิท วรพิพัฒน์ (อ้างถึงใน อุ่นตา นพคุณ, 2530 : 29 - 36) ที่ว่าคิดเป็นเป็นการแสดงศักยภาพของมนุษย์ในการชี้นำชะตาชีวิตของตนเอง โดยการพยายามปรับตัวและสิ่งแวดล้อมให้ผสมผสานกลมกลืนกัน ด้วยกระบวนการแก้ปัญหาซึ่งประกอบด้วยพิจารณาข้อมูล 3 ด้าน ได้แก่ข้อมูลตนเอง ข้อมูลสังคมและสิ่งแวดล้อม และข้อมูลทางวิชาการ เพื่อเป้าหมายที่สำคัญคือการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข
ข. วัตถุประสงค์ของรูปแบบ
รูปแบบนี้มุ่งช่วยพัฒนากระบวนการคิดให้ผู้เรียนสามารถคิดเป็น คือคิดโดยพิจารณาข้อมูล 3 ด้าน ได้แก่ ข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง ข้อมูลเกี่ยวกับสังคมและสิ่งแวดล้อม และข้อมูลทางวิชาการ เพื่อประโยชน์ในการดำรงชีวิตในสังคมไทยอย่างมีความสุข
ค. กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ
ขั้นที่ 1 ข้างสืบค้นปัญหาเผชิญสถานการณ์ในวิถีการดำรงชีวิต ผู้สอนอาจนำเสนอสถานการณ์ในวิถีการดำรงชีวิต ผู้สอนอาจนำเสนอสถานการณ์ให้ผู้เรียนสืบค้นปัญหา หรืออาจใช้สถานการณ์และปัญหาจริงที่ผู้เรียนประสบมาในชีวิตของตนเอง หรือผู้สอนอาจจัดเป็นสถานการณ์จำลองหรือนำผู้เรียนไปเผชิญสถานการณ์นอกห้องเรียนก็ได้ สถานการณ์ที่ใช้ในการศึกษาอาจเป็นสถานการณ์เกี่ยวกับตนเองสังคมและสิ่งแวดล้อม หรือหลักวิชาการก็ได้ เช่นสถานการณ์เกี่ยวกับเศรษฐกิจวัฒนธรรมสังคมครอบครัวการเรียนการทำงานและสิ่งแวดล้อมเป็นต้น
ขั้นที่ 2 ขั้นรวบรวมข้อมูลและผสมผสานข้อมูล 2 ด้าน
เมื่อค้นพบปัญหาแล้วให้ผู้เรียนศึกษาข้อมูลความรู้ต่างๆที่เกี่ยวข้องในสถานการณ์นั้นโดยรวบรวมข้อมูลให้ครบทั้ง 3 ด้านคือด้านที่เกี่ยวกับตนเองสังคมและสิ่งแวดล้อมและด้านหลักวิชาการ
ขั้นที่ 3 ขั้นการตัดสินใจอย่างมีเป้าหมายเมื่อมีข้อมูลพร้อมแล้วให้ผู้เรียนแสวงหาทางเลือกในการแก้ปัญหาโดยพิจารณาใสตองถึงผลที่จะเกิดขึ้นทั้งกับตนเองผู้อื่นและสังคมโดยรวมและตัดสินใจเลือกทางเลือกที่ดีที่สุดคือทางเลือกที่เป็นไปเพื่อเกื้อกูลต่อชีวิตทั้งหลาย
ขั้นที่ 4 ขั้นปฏิบัติและตรวจสอบเมื่อตัดสินใจ เลือกแนวทางปฏิบัติไปแล้วให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเองหรือร่วมมือกับกลุ่มตามแผนงานที่กำหนดไว้อย่างพากเพียรไม่ท้อถอย
ขั้นที่ 5 ขั้นประเมินผลและวางแผนพัฒนา เมื่อปฏิบัติตามแผนงานที่กำหนดไว้ลุล่วงแล้วให้ผู้เรียนประเมินผลการปฏิบัติว่าการปฏิบัติประสบผลสำเร็จมากน้อยเพียงใดมีปัญหาอุปสรรคอะไรและเกิดผลดีผลเสียอะไรบ้างและวางแผนงานที่จะพัฒนาปรับปรุงการปฏิบัตินั้นให้ได้ผลสมบูรณ์ขึ้นหรือวางแผนงานในการพัฒนาเรื่องใหม่ต่อไป
ง. ผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนตามรูปแบบ
หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมสามัญศึกษา (2537) ได้ทดลองใช้รูปแบบดังกล่าวในการสอนนักเรียนระดับมัธยมศึกษาแล้วพบว่า ผู้เรียนมีความสนใจในการคิดเป็น สามารถแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้ มีความเข้าใจในตนเองและผู้อื่นมากขึ้น เข้าใจระบบความสัมพันธ์ในสังคม และเกิดทักษะและเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต
1.4 รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้โมเดลซิปปา (CIPPA Model) หรือรูปแบบการประสานห้าแนวคิดหลักโดยทิศนา แขมมณี
ก. ทฤษฎี/หลักการ/แนวคิดรูปแบบ
ทิศนา แขมมณี (2543 : 17) รองศาสตราจารย์ประจำคณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้พัฒนารูปแบบนี้ขึ้นจากประสบการณ์ที่ใช้ได้แนวคิดทางการศึกษาต่างๆในการสอนเป็นเวลาประมาณ 30 ปีและพบว่าหลักการเรียนรู้จำนวนหนึ่งสามารถใช้ได้ผลดีตลอดมาหลักดังกล่าวได้แก่
1. หลักการสร้างความรู้
2. หลักกระบวนการกลุ่มและการเรียนรู้แบบร่วมมือ
3. หลักความ พร้อมในการเรียนรู้
4. หลักการเรียนรู้กระบวนการ
5. หลักการถ่ายโอนการเรียนรู้
หลักการทั้ง 5 เป็นที่มาของแนวคิด "CIPPA" ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้ด้วยตนเอง C = (construction of knowledge) และมีการ ปฏิสัมพันธ์ (I - interaction) กับเพื่อน บุคคลอื่น ๆ และสิ่งแวดล้อมรอบตัวหลาย ๆ ด้าน โดยใช้ทักษะกระบวนการ (P = process skills) ต่าง ๆ จํานวนมากเป็นเครื่องมือในการสร้างความรู้ เพื่อช่วยให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะกระบวนการ และเรียนรู้สาระในแง่มุมที่กว้างขึ้น ซึ่งจะเกิดขึ้นได้หากผู้เรียนอยู่ ในสภาพที่มีความพร้อมในการรับรู้และเรียนรู้ มีประสาทการรับรู้ที่ตื่นตัว ไม่เฉื่อยชา และสิ่งที่ สามารถช่วยให้ผู้เรียนอยู่ในสภาพดังกล่าวได้ก็คือการให้ผู้เรียนมีการเคลื่อนไหวทางกาย (P = physical partition) อย่างเหมาะสม กิจกรรมที่หลากหลาย ทําให้ผู้เรียนตื่นตัวอยู่เสมอ จึงสามารถ ว่ายให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี แต่เรียนรู้นั้นมีความหมายต่อตนเองและความรู้ความเข้าใจ จะมีความ เล็กซึ้งและคงทนมากเพียงใดนั้นต้องอาศัยการถ่ายโอนการเรียนรู้ หากผู้เรียนมีโอกาสนําความรู้นั้นไป ประยุกต์ใช้ (A = application) ในสถานการณ์ที่หลากหลาย ความรู้นั้นจะเป็นประโยชน์และมี ความหมายมากขึ้น ด้วยแนวคิดดังกล่าว จึงเกิดแบบแผน “CIPPA” ขึ้น ซึ่งผู้สอนสามารถนําแนวคิด ทั้ง 5 ดังกล่าวไปใช้เป็นหลักในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางให้มีคุณภาพได้
ข. วัตถุประสงค์ของรูปแบบ
รูปแบบนี้มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เกิดความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่เรียนอย่างแท้จริง โดยการให้ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตนเอง โดยอาศัยการร่วมมือจากกลุ่ม นอกจากนั้นยังช่วยพัฒนาทักษะกระบวนการต่าง ๆ จำนวนมาก อาทิ กระบวนการคิด กระบวนการกลุ่ม กระบวนการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม และกระบวนการแสวงหาความรู้ เป็นต้น
ค. กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ
ซิปปา (CIPPA) เป็นหลักการหรือแนวคิดซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นหลักในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ต่าง ๆ ให้แก่ผู้เรียน การจัดกระบวนการเรียนการสอนตามหลัก "CIPPA" นี้สามารถใช้วิธีการและกระบวนการที่หลากหลาย ซึ่งอาจจัดเป็นแบบแผนได้หลายรูปแบบ รูปแบบหนึ่งที่ผู้เขียนได้เสนอไว้แล้วได้มีการนำไปทดลองใช้แล้วได้ผลดี ประกอบด้วยขั้นตอนการดำเนินการ 7 ขั้นตอนดังนี้
ขั้นที่ 1 การทบทวนความรู้เดิม
ขั้นนี้เป็นการดึงความรู้เดิมของผู้เรียนในเรื่องจะเรียนเพื่อช่วยให้ผู้เรียนมีความพร้อมในการเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิมของตนซึ่งผู้สอนอาจใช้วิธีการต่างๆได้อย่างหลากหลาย
ขั้นที่ 2 การแสวงหาความรู้ใหม่
ขั้นนี้เป็นการแสวงหาความรู้ใหม่ของผู้เรียนจากแหล่งข้อมูลหรือแหล่งความรู้ต่างๆซึ่งครูอาจเตรียมมาให้ผู้เรียนหรือให้คำแนะนำเกี่ยวกับแหล่งข้อมูลต่างๆเพื่อให้ผู้เรียนไปแสวงหาก็ได้
ขั้นที่ 3 การศึกษาทำความเข้าใจข้อมูล/ความรู้ใหม่และเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิม
ขั้นนี้เป็นขั้นที่ผู้เรียนจะต้องศึกษาและทำความเข้าใจกับข้อมูลความรู้ที่หามาได้ผู้เรียนจะต้องสร้างความหมายของข้อมูลประสบการณ์ใหม่ใหม่โดยใช้กระบวนการต่างๆด้วยตนเองเช่นการใช้กระบวนการคิดและกระบวนการกลุ่มในการอภิปรายและสรุปความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลนั้นนั้นซึ่งจำเป็นต้องอาศัยการเชื่อมโยงกับความรู้เดิม
ขั้นที่ 4 การแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจกับกลุ่ม
ขั้นนี้เป็นขั้นที่ผู้เรียนอาศัยกลุ่มเป็นเครื่องมือในการตรวจสอบความรู้ความเข้าใจของตนรวมทั้งขยายความรู้ความเข้าใจของตนให้กว้างขึ้นซึ่งช่วยให้ผู้เรียนได้แบ่งปันความรู้ความเข้าใจของตนแก่ผู้อื่นและได้รับประโยชน์จากความรู้ความเข้าใจของผู้อื่นไปพร้อมๆกัน
ขั้นที่ 5 การสรุปจัดระเบียบความรู้และวิเคราะห์กระบวนการเรียนรู้
ขั้นนี้เป็นขั้นของการสรุปความรู้ที่ได้รับทั้งหมดทั้งความรู้เดิมและความรู้ใหม่และจัดสิ่งที่เรียนให้เป็นระบบระเบียบเพื่อช่วยให้ผู้เรียนจดจำสิ่งที่เรียนรู้ได้ง่ายรวมทั้งวิเคราะห์กระบวนการเรียนรู้ทั้งหลายที่เกิดขึ้น
ขั้นที่ 6 การปฎิบัติและ/หรือการแสดงผลงาน
หากข้อความรู้ที่ได้เรียนรู้มาไม่มีการปฎิบัติขั้นนี้จะเป็นขั้นที่ช่วยให้ผู้เรียนได้มีโอกาสแสดงผลงานการสร้างความรู้ของตนให้ผู้อื่นรับรู้เป็นการช่วยให้ผู้เรียนได้ตอกย้ำหรือตรวจสอบความเข้าใจของตนและช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนใช้ความคิดสร้างสรรค์ แต่หากต้องมีการปฏิบัติตามข้อความรู้ที่ได้ขั้นนี้จะเป็นขั้นปฏิบัติและมีการแสดงผลงานที่ได้ปฏิบัติด้วย
ขั้นที่ 7 การประยุกต์ใช้ความรู้
ขั้นนี้เป็นขั้นของการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ฝึกฝนการนำความรู้ความเข้าใจของตนไปใช้ในสถานการณ์ต่างๆที่หลากหลายเพื่อเพิ่มความชำนาญความเข้าใจความสามารถในการแก้ปัญหาและความจำในเรื่องนั้นๆ
ง. ผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนตามรูปแบบ
ผู้เรียนจะเกิดความเข้าใจในสิ่งที่เรียนสามารถอธิบายชี้แจงตอบคำถามได้ดีนอกจากนั้นยังได้พัฒนาทักษะในการคิดวิเคราะห์การคิดสร้างสรรค์การทำงานเป็นกลุ่มการสื่อสารรวมทั้งเกิดการไปรู้ด้วย
ที่มา : พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3 นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น