วันจันทร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

ผึ้งแตกรัง สรุปความเข้าใจ 7 กลุ่ม

การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

หน่วยที่ 1 วิธีการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

            วิธีการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เป็นวิธีการดำเนินการที่ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ วิธีการเรียนการสอนจะเน้นให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาในหลายๆด้านแตกต่างกันไปตามวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอน เช่น วิธีการสอนแบบแสดงบทบาท เป็นวิธีการที่ผู้เรียนต้องสวมบทบาทของผู้อื่นตามที่ผู้สอนกำหนดให้ จากวิธีการสอนนี้ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้ทางความคิด อารมณ์ ความกล้า ความอดทนและอื่นๆ เพราะต้องเปลี่ยนแปลงความรู้สึกของตนให้กลายเป็นผู้อื่น



หน่วยที่ 2 รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
  
                รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ คือเทคนิกหรือวิธีการที่มุ่งพัฒนาทักษะหรือพฤติกรรมของผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ เช่น เทคนิคการตั้งคำถามจะเน้นให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการคิด การตีความ การไตร่ตรอง บทบาทของผู้เรียนจะเรียนรู้จากการคิดเพื่อสร้างข้อคำถามและคำตอบด้วยตนเอง


หน่วยที่ 3 เทคนิควิธีสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเพื่อนำไปสู่การจัดการเรียนการสอน

           เทคนิควิธีสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเพื่อนำไปสู่การจัดการเรียนการสอน คือกลวิธีต่างๆที่ช่วยให้การสอนนั้นมีคุณภาพมากขึ้น เป็นวิธการสอนที่เกิดการเร็นเรียนที่รวดเร็ว รู้ลึก และทำให้เกิดความทรงจำระยะยาว เช่น วิธีสอนโดยใช้เกม จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง เมื่อสอนโดยใช้เกมก็จะเกิดความสนุก ผู้เรียนชอบ ทำให้เกิดการเรียนรู้ที่มีความคงทนของความรู้ที่ได้

หน่วยที่ 4 เทคนิคการใช้ผังกราฟฟิก

           เทคนิคการใช้ผังกราฟิก เป็นเทคนิคที่ทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างเข้าใจ โดยผู้เรียนต้องทำความเข้าใจจากเรื่องที่ศึกษาแล้วสรุปออกมาเป็นความคิดของตน และใช้ทักษะคิดวิเคราห์แยกแยะเพื่อนนำมาสร้างเป็นผังกราฟฟิก เช่น ผังความคืดเรื่อง "คอมพิวเตอร์" ผู้เรียน อาจแยกหัวข้อย่อยเป็น ประวัติของคอมพิวเตอร์ ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ การเลือกซื้อคอมพิวเตอร์ เป็นต้น


หน่วยที่ 5 การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

คือเน้นการสร้างความรู้ใหม่และสิ่งประดิษฐ์ใหม่โดยการใช้กระบวนการทางความคิด และให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้ โดยผู้สอนมีบทบาทอำนวยความสะดวกจัดประสบการณ์การเรียนให้ผู้เรียน โดยต้องสอดคล้องกับความสนใจ ความสามารถและความถนัดเน้นการบูรณาการความรู้ในศาสตร์สาขาต่างๆ


หน่วยที่ 6ประเภทของการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
 การสอนแบเน้นกิจกรรมการเรียนการสอนเป็นหลักการสอนแบบ ได้แก่
1.  การสอนแบบใช้ปัญหาเป็นหลัก เป็นการจัดการเรียนการสอนที่ให้ผู้เรียนระบุปัญหาที่ต้องการเรียนรู้ผู้เรียนจะคิดวิเคราะห์แก้ปัญหา และหาทางทดสอบสมมุติฐานที่ตั้งไว้
2. การสอนแบบนิรมิตวิทยา เป็นการจัดการเรียนการสอน ที่เน้นให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ใหม่ของตนเอง โดยมีการเชื่อมโยงความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้นกับความรู้เดิมที่ผู้เรียนมีอยู่แล้ว
3.  การสอนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความคิดรวบยอด เป็นดารจัดการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนเกิดคุณลักษณะของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เรื่องใดเรื่องหนึ่ง
4.  การสอนแบบร่วมมือประสานใจ  เป็นการจัดการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนร่วมมือกันทำงานช่วยเหลือซึ่งกันและกันมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน
5.  การสอนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากากระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เป็นการจัดการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนได้พัฒนาความสามรถในการใช้ความคิดพิจารณา ตัดสินเรื่องราว ปัญหา ข้อสงสัยต่างๆ อย่างรอบคอบ และมีเหตุผล
6.  การวัดและประเมินผลที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การวัดการประเมินผลผู้เรียนตามสภาพจริงวิธีการและเครื่องมือการวักและประเมินผลที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การนำแนวคิดการประเมินผลผู้เรียนตามสภาพจริงไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน



หน่วยที่ 7  การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ตาม พ.. การศึกษาแห่งชาติ  .. 2542
              การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเกิดขึ้นจากพื้นฐานความเชื่อว่า  การจัดการศึกษามีเป้าหมายสำคัญที่สุด คือ การจัดการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนแต่ละคนได้พัฒนาตนเองสูงสูด  ตามกำลังหรือศักยภาพของแต่ละคน แต่เนื่องจากผู้เรียนแต่ละคนมีความแตกต่างกัน ทั้งด้านความต้องการ ความสนใจ ความถนัด
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ .. 2542 เป็นกฎหมายที่กำหนดเพื่อแก้ไข้หรือแก้ปัญหาทางการศึกษา และถือได้ว่าเป็นเครื่องมือสำคัญในการปฎิรูปการศึกษา 
การจัดกระบวนการเรียนรู้ ให้สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ดังนี้
1.จัดเนื้อหาสาระ
2. ฝึกทักษะ กระบวนการคิด
3.จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง 


ที่มา :
พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น