เทคนิคการใช้ผังกราฟิก
1. ผังความคิด (A Mind Map)
2. ยังมโนทัศน์ (A Concept map)
3. ผังแมงมุม (A Spider Map)
4. ผังก้างปลา (A fish borne Map)
1.ผังความคิด (A Mind Map)
เป็นการแสดงความสัมพันธ์ของสาระหรือความคิดต่าง ๆ ให้เห็นในภาพรวม โดยใช้เส้น คํา ระยะห่างจากจุดศูนย์กลาง สี เครื่องหมาย รูปทรงเรขาคณิต และภาพ แสดงความหมาย และความเชื่อมโยงของความคิดหรือสาระนั้น ๆ
มีขั้นตอนหลักๆ ในการทําดังนี้
1.1 เขียนความคิดรวบยอดหลักไว้ตรงกลาง แล้วแตกสาขาออกไปเป็นความคิดรวบยอดย่อย ๆ
1.2 เขียนคําที่เป็นตัวแทนความหมายของความคิดนั้น ๆ ลงไป และใช้รูปทรงเรขาคณิตแสดง ระดับของคํา คําใดอยู่ในขอบเขต
หรือระดับเดียวกัน ใช้รูปทรงเรขาคณิตเดียวกันล้อมกรอบคํานั้น
1.3 ลากเส้นเชื่อมโยงความคิดเพื่อแสดงความสัมพันธ์ของความคิดต่าง ๆ อาจเป็นเส้นตรง โค้ง ลูกศร เส้นประ
1.4 ใช้สัญลักษณ์ต่าง ๆ เป็นตัวแทนความหมายของ ความคิดและความรู้สึกต่าง ๆ
1.5 สร้างผังความคิดให้สมบูรณ์ ตามความเข้าใจของตน
2. ยังมโนทัศน์ (A Concept map)
เป็นการแสดงมโนทัศน์หรือความคิดรวบยอดใหญ่ไว้ตรงกลาง และแสดงความสัมพันธ์ ระหว่างมโนทัศน์ใหญ่และย่อยตามลําดับขั้น ด้วยเส้นเชื่อมโยง
3.ผังแมงมุม (A Spider Map)
เป็นการแสดงมโนทัศน์อีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะคล้ายใยแมงมุม
เทคนิคตระกูล K
-KWL
- KWLplus
- KWLH
- KWDL
KWL
ขั้นตอนการเรียนรู้ KWL
1. เลือกบทอ่านที่น่าสนใจหรือบทอ่านที่ผู้เรียนต้องเรียนรู้
2. ทําตาราง KWL ให้กับผู้เรียน
3. ถามผู้เรียนว่ารู้อะไรบ้าง
4. ถามผู้เรียนว่าต้องการรู้อะไรจากเรื่องที่อ่าน (W) แล้วบันทึก
5. ให้นักเรียนอ่านบทอ่านแล้วบันทึกว่ารู้อะไรบ้าง (L) หลังการอ่าน
จุดเด่นของการจัดการเรียนรู้ KWL
1. นํามาใช้เพื่อพัฒนาการอ่านได้ทุกระดับ ทุกรายวิชา
2. นํามาใช้พัฒนาความสามารถในการคิดหรือพัฒนาทักษะการคิดได้
KWL plus
plus = ทําแผนผังมโนทัศน์
ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ KWL plus
1. เลือกบทอ่านที่น่าสนใจหรือบทอ่านที่ผู้เรียนต้องเรียนรู้
2. ทําตาราง KWL plus ให้กับผู้เรียน
3. ถามผู้เรียนว่ารู้อะไรบ้าง (K) จากเรื่องที่กําหนดให้ แล้วบันทึก
4. ถามผู้เรียนว่าต้องการรู้อะไรจากเรื่องที่อ่าน (W) แล้วบันทึก
5. ให้นักเรียนอ่านบทอ่านแล้วบันทึกว่ารู้อะไรบ้าง (L)หลังการอ่าน
6. ทําแผนผังมโนทัศน์ (Mind Mapping หรือ Concept Mapping)
จุดเด่นของการจัดการเรียนรู้ KWL plus
1.นํามาใช้เพื่อพัฒนาการอ่านได้ทุกระดับ ทุกรายวิชา
2. นํามาใช้พัฒนาความสามารถในการคิดหรือพัฒนาทักษะการคิดได้
3. นํามาใช้พัฒนาการลําดับขั้นตอนการคิดแบบรวบยอดของผู้เรียนได้
KWDL
ขั้นตอนการจัดการเรีนรู้ KWDL
1.เลือกบทอ่านที่ผู้เรียนต้องเรียนรู้หรือโจทย์ปัญหาคณิตาศาสตร์ที่ต้องทำ
2.ทำตาราง KWDL ให้กับผู้เรียน
3.ถามผู้เรยนว่ารู้อะไรบ้าง (K) จากเรื่องที่กไหนดหรือโจทย์ฯแล้วบันทึก
4.ถามผู้เรียนว่าต้องการรู้อะไรจากเรื่องหรือโจทย์ต้องการรู้อะไร (W) แล้วบันทึก
5.ให้ผู้เรียนบอกวิธีดำเนินการเพื่อหาคำตอบ (D) จากสิ่งที่ต้องการรู้หรือโจทย์ทใน W
6.ให้นักเรียนอ่านบทความแล้วอ่านบันทึกว่ารู้อะไรบ้าง (L)หรือคำตอบคืออะไร
จุดเด่นของการจัดการเรียนรู้ KWDL
1.นำมาใช้เพื่อพัฒนาการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์
2.นำมาใช้พัฒนาความสามารถในการคิดหรือพัฒนาทักษะการคิดได้
3.นำมาใช้พัฒนาผู้เรียนในด้านทักษะกระบวนการ
KWLH
ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ KWLH
1. กําหนดคําหรือเรื่องที่ต้องการจัดการเรียนรู้
2. ทําตาราง KWLH ให้กับผู้เรียน
3. ถามผู้เรียนว่ารู้อะไรบ้าง (K) จากคําหรือเรื่องที่กําหนดให้ แล้วบันทึก
4. ถามผู้เรียนว่าต้องการรู้อะไรจากคําหรือเรื่องที่กําหนดให้ (W) แล้วบันทึก
5. ให้ผู้เรียนอ่านเรื่องราวจากคําหรือเรื่องที่กําหนดให้แล้วบันทึกว่ารู้อะไรบ้างหลังการอ่าน(L)
6. ให้นักเรียนระบุว่าจะหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยวิธีใด (H)
จุดเด่นของการจัดการเรียนรู้ KWLH
1. นํามาใช้จัดการเรียนรู้ได้ทุกกลุ่มสาระ
2. นํามาใช้พัฒนาความสามารถในการคิดหรือพัฒนาทักษะการคิดได้
3. นํามาใช้พัฒนาทักษะการอ่านได้
4. นํามาใช้ในการให้ผู้เรียนรู้จักวางแผนค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติม
เทคนิคการสอนการคิดสร้างสรรค์โดยใช้ภาพแบบ PWIM (Picture Word Inductive Model)
ลักษณะสําคัญ คือ ใช้รูปภาพที่สอดคล้องกับสาระวัตถุประสงค์ และวัยของผู้เรียนเป็นสื่อที่ นําไปสู่ การรู้คําศัพท์ วลี ประโยค ข้อความ จนถึงการอ่านและการเขียนที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น โดยมีการฝึก ซ้ําๆ เป็นปริมาณมากๆ และสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับความคิดรวบยอด และหลักการด้วยตนเอง ด้วยวิธีคิดแบบอุปนัย และที่สําคัญเป็นการเรียนรู้ที่เริ่มจากตัวผู้เรียน
วิธีดําเนินการ
1. เริ่มต้นด้วยการใช้รูปภาพที่ประกอบด้วยวัตถุ สิ่งของ ฉาก เหตุการณ์ สถานการณ์ (ที่นักเรียนรู้จักคุ้นเคย) ให้นักเรียนสังเกต ช่วยกันระบุคําต่างๆ เหตุการณ์ การปฏิบัติที่ปรากฏ ในรูปภาพ (Words and Actions)
2. ครูโยงภาพกับคําศัพท์ หรือคําที่นักเรียนเสนอ นักเรียนพูดออกเสียงและสะกดคําที่ได้ จากภาพ โดนครูคอยแนะนําแก้ไขให้ออกเสียงให้ถูกต้อง
3. นักเรียนช่วยกันจัดกลุ่มคํา หรือจัดประเภทคํา หรือคําศัพท์ที่ระบุจากภาพ (ความคิด รวบยอด มีการจําแนก จัดกลุ่ม ขึ้นอยู่กับวัยและระดับประสบการณ์ของนักเรียน)
4. นักเรียนฝึกเขียนวลี แต่งประโยคจากคําศัพท์ต่าง ๆ
5. นักเรียนฝึกเขียนข้อความ ย่อหน้า และเขียนเรื่องจากภาพ ใช้การฝึกอย่างน้อย 20 ครั้ง/เรื่อง)
ที่มา : พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3 นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น