รูปแบบการเรียนการสอน
ความหมายของรูปแบบการเรียนการสอน
ในทางศึกษาศาสตร์ มีคำที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบ คือ รูปแบบการสอน Model
of Teaching หรือ Teaching Model และรูปแบบการเรียนการสอนหรือรูปแบบ
การจัดการเรียนการสอน Instructional Model หรือ Teaching-Learning
Model คำว่า รูปแบบการสอน มีผู้อธิบายไว้ดังนี้
(1) รูปแบบการสอน หมายถึง แบบหรือแผนของการสอน
รูปแบบการสอนแบบหนึ่งจะมี จุดเน้นที่เฉพาะเจาะจงอย่างใดอย่างหนึ่ง
รูปแบบการสอนแต่ละรูปแบบจึงอาจมีจุดหมายที่แตกต่าง กัน
(2)
รูปแบบการสอน หมายถึง แผนหรือแบบซึ่งสามารถใช้การสอนในห้องเรียน หรือสอน
พิเศษเป็นกลุ่มย่อย หรือ เพื่อจัดสื่อการสอน ซึ่งรวมถึง หนังสือ ภาพยนตร์
เทปบันทึกเสียง โปรแกรม คอมพิวเตอร์และหลักสูตรรายวิชา รูปแบบ
การสอนแต่ละรูปแบบจะเป็นแนวในการออกแบบการ
สอนที่ช่วยให้นักเรียนบรรลุวัตถุประสงค์ตามที่รูปแบบนั้น ๆ กำหนด
(3) รูปแบบการสอน หมายถึง แผนแสดงการเรียนการสอน
สำหรับนำไปใช้สอนในห้องเรียน
เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ให้มากที่สุด
แผนดังกล่าวจะแสดงถึงลำดับ ความสอดคล้องกัน ภายใต้หลักการของแนวคิดพื้นฐานเดียวกัน
องค์ประกอบทั้งหลายได้แก่ หลักการ จุดมุ่งหมาย เนื้อหา และทักษะที่ต้องการสอน
ยุทธศาสตร์การสอน วิธีการสอน กระบวนการสอน ขั้นตอนและกิจกรรมการสอน
และการวัดและประเมินผล
รูปแบบการเรียนการสอนมีความหมายในลักษณะเดียวกับระบบการเรียนการสอน
ซึ่งนักการ ศึกษาโดยทั่ว ไปนิยมใช้คำว่า “ระบบ” ในความหมายที่เป็นระบบใหญ่
ครอบคลุมองค์ประกอบ สำคัญๆ ของการศึกษา หรือการเรียนการสอนในภาพรวม
และนิยมใช้คำว่า “รูปแบบ” กับระบบที่ ย่อยกว่า โดยเฉพาะกับ “วิธีการสอน”
ในด้านความหมายของรูปแบบการสอน มีผู้ให้ความหมายไว้ หลายแง่มุม ดังนี้
Saylor and others (1981 : 271)
กล่าวว่า รูปแบบการสอน (teaching model) หมายถึง แบบ (pattern)
ของการสอนที่มีการจัดกระทำพฤติกรรมขึ้นจำนวนหนึ่งที่มีความแตกต่างกัน
เพื่อ จุดหมายหรือจุดเน้นที่เฉพาะเจาะจงอย่างใดอย่างหนึ่ง
Joyce and Well (1992 : 1-4)
กล่าวว่า รูปแบบการสอน คือ แผน (plan) หรือแบบ (pattern)
ที่เราสามารถใช้เพื่อการสอนโดยตรงในห้องเรียนหรือการสอนเป็นกลุ่มย่อย
หรือเพื่อจัดสื่อ การเรียนการสอนซึ่งรวมถึงหนังสือ ภาพยนตร์ เทปบันทึกเสียง
โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนและ หลักสูตรรายวิชา
ซึ่งแต่ละรูปแบบจะให้แนวทางในการออกแบบการเรียนการสอนที่จะช่วยให้ผู้เรียน
บรรลุวัตถุประสงค์ต่างๆกัน รูปแบบการสอนคือ การบรรยายสิ่งแวดล้อมทางการเรียน
รูปแบบการ 2 สอนก็คือ รูปแบบของการเรียนที่ช่วยผู้เรียนให้ได้รับสารสนเทศ ความคิด
ทักษะคุณค่า แนวทางของ การคิด และแนว
Keeves J., (1997 : 386-387) กล่าวว่า
รูปแบบโดยทั่วไปจะต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญดังนี้
1.
รูปแบบจะต้องนำไปสู่การทำนาย (prediction) ผลที่ตามมาซึ่งสามารถพิสูจน์ทดสอบได้
กล่าวคือ สามารถนำไปสร้างเครื่องมือเพื่อไปพิสูจน์ทดสอบได้
2.
โครงสร้างของรูปแบบจะต้องประกอบด้วยความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ (causal
relationship) ซึ่งสามารถใช้อธิบายปรากฏการณ์/เรื่องนั้นได้
3.
รูปแบบจะต้องสามารถช่วยสร้างจินตนาการ (imagination) ความคิดรวบยอด (concept)และความสัมพันธ์ (interrelations)
รวมทั้งช่วยขยายขอบเขตของการสืบเสาะควรู้
4.
รูปแบบควรจะประกอบด้วยความสัมพันธ์เชิงโครงสร้าง (structural
relationships) มากกว่า ความสัมพันธ์เชิงเชื่อมโยง (associative
relationships) ทิศนา แขมมณี (2550 : 3-4) กล่าวว่า รูปแบบการสอน
หมายถึง สภาพหรือลักษณะของการ จัดการเรียนการสอนที่จัดขึ้นอย่างมีระบบระเบียบ
มีแบบแผนตามหลักปรัชญา ทฤษฎี หลักการ แนวคิด หรือความเชื่อต่างๆ
โดยอาศัยวิธีสอนและเทคนิคการสอนต่างๆ เข้ามาช่วยให้สภาพการเรียน
การสอนนั้นเป็นไปตามหลักการที่ยึดถือ ดังนั้น
คุณลักษณะสำคัญของรูปแบบการสอนจึงต้อง ประกอบด้วยสิ่งต่างๆ ต่อไปนี้
1. มีปรัชญาหรือทฤษฎีหรือหลักการหรือแนวคิดหรือความเชื่อ
ที่เป็นพื้นฐานหรือเป็น หลักการของรูปแบบการสอนนั้นๆ
2.
มีการบรรยายหรืออธิบายสภาพหรือลักษณะของการจัดการเรียนการสอน
3. มีการจัดระบบ คือ
มีการจัดองค์ประกอบและความสัมพันธ์ ขององค์ประกอบของระบบให้ สามารถนำผู้เรียนไปสู่เป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
โดยมีการพิสูจน์ ทดลองถึงประสิทธิภาพของ ระบบนั้นดังนั้น
รูปแบบการเรียนการสอนจึงหมายถึง สภาพหรือลักษณะของการจัดการเรียนการสอน
ที่จัดไว้อย่างเป็นระเบียบตามหลักปรัชญา ทฤษฎี หลักการ แนวคิดหรือความเชื่อต่างๆ
โดยมีการจัด กระบวนการหรือขั้นตอนในการเรียนการสอน
โดยอาศัยวิธีสอนและเทคนิคการสอนต่างๆ เข้ามาช่วย
ทำให้สภาพการเรียนการสอนนั้นเป็นไปตามหลักการที่ยึดถือ ซึ่งได้รับการพิสูจน์
ทดสอบหรือยอมรับ ว่ามีประสิทธิภาพ
สามารถใช้เป็นแบบแผนในการเรียนการสอนให้บรรลุวัตถุประสงค์เฉพาะของ รูปแบบนั้นๆ ซึ่งแต่ละรูปแบบมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน
กล่าวคือ เป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่ เน้นการพัฒนาด้านพุทธิพิสัย (cognitive
domain)การพัฒนาด้านจิตพิสัย (affective domain) การ พัฒนาด้านทักษะพิสัย (psychomotor domain)การพัฒนาด้านทักษะกระบวนการ
(process skills) หรือ การบูรณนาการ(integration)ทั้งนี้รูปแบบดังกล่าวล้วนเป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่มี
ลักษณะเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น