รูปแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากล
รูปแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากล
รูปแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากลซึ่ง รองศาสตราจารย์ ดร. ทิศนา แขมมณี
ได้คัดเลือกมานำเสนอ ล้วนได้รับการพิสูจน์ทดสอบประสิทธิภาพมาแล้วและมีผู้นิยมนำไปใช้ในการเรียนการสอนโดยทั่วไป
แต่ เนื่องจากรูปแบบการเรียนการสอนดังกล่าวมีจำนวนมาก
เพื่อความสะดวกในการศึกษาและการนำไปใช้ จึงได้
จัดหมวดหมู่ของรูปแบบเหล่านั้นตามลักษณะของวัตถุประสงค์เฉพาะหรือเจตนารมณ์ของรูปแบบ
ซึ่งสามารถ จัดกลุ่มได้เป็น 5 หมวดดังนี้
1.
รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาด้านพุทธิพิสัย(cognitive
domain)
2.
รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาด้านจิตพิสัย(affective
domain)
3.
รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาด้านทักษะพิสัย(psycho-motor
domain)
4.
รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาทักษะกระบวนการ(process
skill)
5.
รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการบูรณนาการ(integration)
เนื่องจากจำนวนรูปแบบและรายละเอียดของแต่ละรูปแบบมากเกินกว่าที่จะนำเสนอไว้ในที่นี้ได้ทั้งหมด
จึงได้คัดสรรและนำเสนอเฉพาะรูปแบบที่ รองศาสตราจารย์ ดร.ทิศนา แขมมณี
ประเมินว่าเป็นรูปแบบที่จะ เป็นประโยชน์ต่อครูส่วนใหญ่และมีโอกาสนำ ไปใช้ได้มาก
โดยจะนำเสนอเฉพาะสาระที่เป็นแก่นสำคัญของ รูปแบบ 4 ประการ คือ
ทฤษฎีหรือหลักการของรูปแบบ วัตถุประสงค์ของรูปแบบ กระบวนการของรูปแบบ
และผลที่จะได้รับจากการใช้รูปแบบ ซึ่งจะช่วยให้ผู้อ่านได้ภาพรวมของรูปแบบ
อันจะช่วยให้สามารถตัดสินใจ ในเบื้องต้นได้ว่าใช้รูปแบบใดตรงกับความต้องการของตน
หากตัดสินใจแล้ว ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมใน รูปแบบใด
สามารถไปศึกษาเพิ่มเติมได้จากหนังสือซึ่งให้รายชื่อไว้ในบรรณานุกรม
อนึ่ง
รูปแบบการเรียนการสอนที่นำเสนอนี้
ล้วนเป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ทั้งสิ้น
เพียงแต่มีความแตกต่างกันตรงจุดเน้นของด้านที่ต้องการพัฒนาในตัวผู้เรียนและปริมาณของการมีส่วน
ร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียนซึ่งมีมากน้อยแตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม
ท่านผู้อ่านพึงระลึกอยู่เสมอว่า แม้ รูปแบบแต่ละหมวดหมู่จะมีจุดเน้นที่แตกต่างกัน
ก็มิได้หมายความว่า รูปแบบนั้นไม่ได้ใช้หรือพัฒนา ความสามารถทางด้านอื่น ๆ เลย
อันที่จริงแล้ว การสอนแต่ละครั้งมักประกอบไปด้วยองค์ประกอบทั้งทางด้าน พุทธิพิสัย
จิตพิสัย และทักษะพิสัย รวมทั้งทักษะกระบวนการทางสติปัญญา
เพราะองค์ประกอบทั้งหมดมีความ เกี่ยวพันกันอย่างใกล้ชิด
การจัดหมวดหมู่ของรูปแบบเป็นเพียงเครื่องแสดงให้เห็นว่า รูปแบบนั้น มีวัตถุประสงค์
หลักมุ่งเน้นไปทางใดเท่านั้น แต่ส่วนประกอบด้านอื่น ๆ ก็ยังคงมีอยู่
เพียงแต่จะมีน้อยกว่าจุดเน้นเท่านั้น
ที่มา : พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ที่มา : พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น